บริษัทฯ มีเจตนารมณ์และมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของสำนักงานคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) รวมถึง ข้อเสนอแนะจาก สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการ บริษัทไทย (IOD) ตามรายงาน Corporate Governance Assessment Report โดยได้ ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และเพื่อให้เกิด ความเชื่อมั่นกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยสนับสนุนและส่งผลให้ธุรกิจเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัทฯ จึงได้จัดทำนโยบายการกำกับดูแลกิจการเผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ และจัดทำจริยธรรมและจรรยาบรรณของ ธุรกิจขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมทั้งมีการสื่อสารให้ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับชั้นของบริษัทฯ รับทราบ เพื่อใช้เป็น แนวทางในการปฏิบัติตนของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานในทุกระดับชั้น ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการด าเนินงาน

ภาพรวมของนโยบายและแนวปฏิบัติการกำกับดูแลกิจการ

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการ

คณะกรรมการบริษัทฯ ตระหนักถึงความรับผิดชอบและบทบาทในการกำหนดนโยบาย และกำกับดูแลให้บริษัทมี การบริหารจัดการที่ดีซึ่งครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมายการดำเนินธุรกิจ กลยุทธ์ นโยบายการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนติดตาม ประเมินผล และดูแลการรายงานผลการดำเนินงานให้มี ความสอดคล้องกับกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น อันนำไปสู่การดำเนินงานและสร้าง คุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน คณะกรรมการได้ดำเนินการตามแนวปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. การสรรหากรรมการและผู้บริหารระดับสูง

  • (1) การสรรหากรรมการอิสระ

    บริษัทฯกำหนดโครงสร้างคณะกรรมการบริษัทฯโดยมีจำนวนกรรมการอิสระซึ่งเป็นบุคคลที่สามารถแสดง ความเห็นได้อย่างอิสระและปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นอย่างดีที่สุดไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของ จำนวนกรรมการทั้งหมดและไม่น้อยกว่า 3 คน คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนจะสรรหากรรมการที่มี คุณสมบัติเหมาะสมทั้งในด้านทักษะประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์กับบริษัททั้งปัจจุบัน และมีคุณสมบัติกรรมการอิสระ โดยนิยามของกรรมการอิสระบริษัท ดังนี้

    1. ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 1 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วของบริษัท บริษัทย่อย หรือบริษัทที่เกี่ยวข้อง โดยให้นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระด้วย
    2. ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจำ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
    3. ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดยการจดทะเบียนตามกฏหมาย หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายในลักษณะที่เป็น บิดามารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวทั้งคู่สมรสของบุตรของกรรมการรายอื่น ผู้บริหารบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นกรรมการผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทหรือบริษัทย่อย
    4. ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัยหรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ที่ความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
    5. ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของสำนักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัท เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีไม่เป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใด ซึ่งได้รับค่าบริการเกินกว่า 2 ล้านบาทต่อปีจากบริษัท บริษัทย่อยหรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง
    6. ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใดๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งได้รับค่าบริการเกินกว่า 2 ล้านบาทต่อปีจากบริษัท และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
    7. ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่
    8. ไม่ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัทหรือบริษัทย่อยหรือไม่เป็นหุ้นส่วนที่มีนัยในห้างหุ้นส่วน หรือเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงานที่ปรึกษาที่รับเงินเดือนประจำ หรือถือหุ้นเกิน 1% ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทอื่นซึ่งประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัทหรือบริษัทย่อย
    9. ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท
  • (2) การสรรหากรรมการ

    คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนจะพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และกระบวนการสรรหาที่โปร่งใส ตลอดจนกลั่นกรองและคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการแทนกรรมการที่พ้นตำแหน่งทั้งกรณี ที่ลาออกก่อนครบวาระและที่ครบกำหนดออกตามวาระตามหลักเกณฑ์ดังนี้

    1. พิจารณาโครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการ ทั้งในเรื่องของจำนวนคณะกรรมการให้เหมาะสมกับขนาด ประเภท และความซับซ้อนของธุรกิจ คุณสมบัติของกรรมการแต่ละท่านในด้านทักษะประสบการณ์ ความสามารถเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมหลักของบริษัท
    2. พิจารณาคุณสมบัติของกรรมการอิสระให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด
    3. กำหนดหลักเกณฑ์ในการสรรหากรรมการบริษัทกรรมการชุดย่อย และกรรมการผู้จัดการ รวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอชื่อกรรมการ
    4. พิจารณาสรรหากรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อย และกรรมการผู้จัดการ ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้ประสบการณ์ มีความสามารถเฉพาะด้านที่เป็นประโยชน์กับบริษัท เพื่อเสนอคณะกรรมการบริษัท ฯพิจารณาอนุมัติ และ/หรือ เสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้วแต่กรณี
    5. พิจารณาคุณสมบัติของตำแหน่งกรรมการผู้จัดการที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการธุรกิจของบริษัทเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ โดยให้ครอบคลุมทั้งด้านการศึกษา ประสบการณ์ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และนำปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่สำคัญและเกี่ยวข้อง เช่น สภาพและแนวโน้ม เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมตลอดจนการแข่งขันทางธุรกิจมาประกอบการพิจารณาด้วย พร้อมทั้งมีหน้าที่เสนอค่าตอบแทนแก่ผู้ที่เหมาะสมในการเป็นกรรมการผู้จัดการ
    6. ดูแลให้บริษัทจัดให้มีการปฐมนิเทศและแจกเอกสารและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการที่เข้าใหม่
    7. กำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าตอบแทน ของกรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อยและกรรมการผู้จัดการ เพื่อเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติ และ/หรือเสนอ ขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นแล้วแต่กรณี
    8. กำหนดค่าตอบแทนที่จ าเป็นและเหมาะสมทั้งที่เป็นรูปแบบ ตัวเงินและมิใช่ตัวเงิน เพื่อจูงใจและรักษากรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อย และกรรมการผู้จัดการ
    9. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน ของกรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อย และกรรมการผู้จัดการ
    10. พิจารณาทบทวนนโยบายหลักเกณฑ์ในการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนและระบบการจ่ายค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับหน้าที่ ความรับผิดชอบ รวมทั้งสอดคล้องกับผลการดำเนินงานของบริษัท และสภาวะตลาดโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะสร้างให้กับบริษัทเป็นสำคัญ
    11. ดูแลให้มีการเปิดเผยรายละเอียดค่าตอบแทนที่คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนแต่ละท่านได้รับเพิ่มเติมจากการดำรงตำแหน่งกรรมการในรายงานประจำปี
    12. ทบทวนแผนการสืบทอดตำแหน่งกรรมการผู้จัดการและผู้บริหารระดับสูง (Succession plan) เพื่อเตรียมพร้อม บุคคลที่มีศักยภาพให้สามารถสืบทอดตำแหน่งงานในกรณีที่กรรมการผู้จัดการหรือผู้บริหารระดับสูงเกษียณ ลาออก หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
    13. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทฯมอบหมาย

    โดยคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนจะเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมดังกล่าวให้ คณะกรรมการบริษัทฯพิจารณาเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัท

    ทั้งนี้ตามข้อบังคับบริษัทกำหนดว่า ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีทุกครั้ง ให้กรรมการออกจากตำแหน่ง จำนวน 1 ใน 3 ถ้าจำนวนกรรมการที่จะแบ่งออกให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ได้ ก็ให้ออกโดยจำนวนใกล้ที่สุดกับส่วน 1 ใน 3 ดังนั้นกรรมการบริษัทจึงมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี โดยกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับเลือกตั้งใหม่ได้ ซึ่ง บริษัทไม่ได้กำหนดจำนวนวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการหรือจำนวนบริษัทจดทะเบียนอื่นที่กรรมการจะดำรงตำแหน่ง กรรมการ แต่จะพิจารณาความเหมาะสมในการแต่งตั้งกรรมการที่ครบวาระเข้าดำรงตำแหน่งอีก ในข้อบังคับบริษัทกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งกรรมการโดยผู้ถือหุ้น ดังนี้

  • (3) การสรรหากรรมการผู้จัดการ
    1. ผู้บริหารในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการจะได้รับการสรรหาโดยคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ซึ่งจะพิจารณาสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ กระบวนการ และวิธีการตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับของ บริษัทฯ รวมถึงเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือ เป้าหมายที่คณะกรรมการบริษัทฯกำหนดไว้ และมีความเข้าใจในธุรกิจของบริษัทอย่างดี โดยคณะกรรมการสรรหาและ พิจารณาค่าตอบแทนจะนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯเพื่อพิจารณาอนุมัติด้วยเสียงข้างมากก่อนที่จะนำเสนอต่อที่ ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาอนุมัติการแต่งตั้ง โดยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ถือคะแนนเสียงข้างมากของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุม และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน

    นอกจากนี้ บริษัทฯยังเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถนำเสนอรายชื่อกรรมการเป็นการล่วงหน้า เพื่อให้ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนได้พิจารณาคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ ที่บริษัทฯได้กำหนดไว้ และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯเพื่อพิจารณาเห็นชอบก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อ พิจารณาแต่งตั้งตามขั้นตอนต่อไป

2. การทำหน้าที่ของประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ

ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการไม่เป็นบุคคลเดียวกัน เพื่อเป็นการแบ่งแยกหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย กำกับดูแล และการบริหารงานประจำ โดยคณะกรรมการได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของประธานกรรมการ และกรรมการ ผู้จัดการอย่างชัดเจน

3. การกำหนดค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารระดับสูง

กรรมการ: ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีอำนาจพิจารณาอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการทุกรูปแบบ โดยคณะกรรมการ บริษัทฯมอบหมายให้คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ทำหน้าที่พิจารณานโยบายและหลักเกณฑ์ในการ กำหนดค่าตอบแทนของกรรมการ ซึ่งในการเสนอค่าตอบแทนกรรมการต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทฯจะ พิจารณาให้โครงสร้างและอัตราค่าตอบแทนมีความเหมาะสมสอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายระยะยาว ประสบการณ์ ภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบ (Accountability and Responsibility) รวมถึงประโยชน์ที่บริษัทฯ คาดว่าจะได้รับจาก กรรมการแต่ละท่าน โดยอยู่ในลักษณะที่เปรียบเทียบได้กับระดับที่ปฏิบัติอยู่ในอุตสาหกรรมที่ประกอบธุรกิจเดียวกันและ บริษัทที่มีขนาดใกล้เคียงกัน และสามารถจูงใจให้คณะกรรมการบริษัทฯ นำพาองค์กรให้ดำเนินงานตามเป้าหมายทั้งระยะ สั้นและระยะยาว

ผู้บริหารระดับสูง: คณะกรรมการบริษัทฯ มีนโยบายในการกำหนดโครงสร้างค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็น เครื่องจูงใจให้ผู้บริหารระดับสูงปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักขององค์กร และสอดคล้องกับ ผลประโยชน์ของกิจการในระยะยาว คณะกรรมการบริษัทฯได้มอบหมายให้คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน พิจารณาและกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับค่าตอบแทน และการประเมินผลงานกรรมการผู้จัดการ เพื่อเสนอแนะต่อ คณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติตามขั้นตอนต่อไป

4. ความเป็นอิสระของคณะกรรมการจากฝ่ายจัดการ

คณะกรรมการบริษัทฯ จะมีสัดส่วนระหว่างกรรมการที่เป็นผู้บริหารและกรรมการที่ ไม่เป็นผู้บริหารที่สะท้อน อำนาจที่ถ่วงดุลกันอย่างเหมาะสม โดยกรรมการส่วนใหญ่เป็นกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารที่สามารถให้ความเห็นเกี่ยวกับ การทำงานของฝ่ายจัดการได้อย่างอิสระ และกรรมการอิสระมีจำนวนและคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปัจจุบันคณะกรรมการของบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการ 8 ท่าน เป็นกรรมการ อิสระ 3 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 37.5 เป็นกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร (รวมกรรมการอิสระ) 7 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 87.5 ซึ่ง เป็นไปตามเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

5. การพัฒนากรรมการ

คณะกรรมการบริษัทฯ กำกับดูแลให้กรรมการแต่ละท่าน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ ลักษณะ การประกอบธุรกิจและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจตลอดจนสนับสนุนให้กรรมการทุกท่านได้รับการ เสริมสร้างทักษะและความรู้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่กรรมการอย่างสม่ำเสมอ อาทิ หลักสูตรทั้งที่จัดขึ้นโดยสมาคมส่งเสริม สถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute Of Directors : IOD) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานอื่น เป็นต้น

6. การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ

คณะกรรมการบริษัทฯ มีนโยบายจัดให้มีการประเมินผล การปฏิบัติหน้าที่ประจำปีของคณะกรรมการบริษัทฯ อย่าง น้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทฯ ร่วมกันพิจารณาผลงานและปัญหา รวมถึงผลประเมินจะถูกนำไปใช้สำหรับการ พัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย

คณะกรรมการบริษัทฯ ตระหนักถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งในฐานะที่ผู้ถือหุ้นเป็นทั้งนักลงทุนและเจ้าของบริษัท จึงมีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิ ดังกล่าว ดังนี้

  1. สิทธิในการรับทราบข้อมูล สารสนเทศ ที่ถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอและทันเวลา
  2. สิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น การแสดงความคิดเห็นและการตั้งคำถามใดๆ ต่อที่ประชุมตามระเบียบวาระการประชุม
  3. สิทธิในการเสนอชื่อแต่งตั้งกรรมการ ถอดถอนกรรมการ
  4. สิทธิในการให้ความเห็นชอบแต่งตั้งผู้สอบบัญชี และกำหนดค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี
  5. สิทธิในการเสนอระเบียบวาระการประชุมล่วงหน้าที่สมควรได้รับการพิจารณาเพิ่มเติมให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้น
  6. สิทธิอื่นๆ ตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในกฎหมาย กฎระเบียบอื่นใดที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อบังคับของบริษัทฯ
  • บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย

    บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียภายใน ได้แก่ พนักงาน และผู้บริหารของบริษัทฯ และบริษัทย่อย หรือผู้มีส่วนได้เสียภายนอก ได้แก่ คู่แข่ง เจ้าหนี้ ภาครัฐและหน่วยงานอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องโดยบริษัทฯ ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย เหล่านี้ได้รับการดูแลอย่างดีในปี 2566 บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญกับบทบาทของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ของบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ ดังนี

    ผู้ถือหุ้น บริษัทฯเคารพสิทธิและปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม เช่น สิทธิในการเข้าประชุมผู้ถือหุ้นและออก เสียงลงคะแนน สิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระในที่ประชุมผู้ถือหุ้น พร้อมกับสิทธิผู้ถือหุ้น ในการเสนอแนะข้อคิดเห็นต่างเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯในฐานะเจ้าของบริษัทฯผ่าน กรรมการอิสระ

    พนักงาน บริษัทฯให้ความสำคัญกับพนักงานโดยถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนา ความรู้และศักยภาพของพนักงาน โดยให้มีการอบรมทักษะ และเปิดโอกาสในการเรียนรู้แก่พนักงาน ทุกคนเพื่อพัฒนาตนเอง และให้การก้าวหน้าในสายอาชีพของตนไปพร้อมกับบริษัทฯ และบริษัทฯยังมี ระบบการประเมินผลของพนักงานที่ทำให้สิ่งที่พนักงานให้ความสำคัญกับเป้าหมายของบริษัทฯให้เป็น ในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งเพื่อให้ความมั่นใจว่าความสำเร็จของธุรกิจนั้นเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน

    ลูกค้า บริษัทฯ คำนึงถึงความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าเป็นสำคัญ บริษัทฯมุ่งมั่นที่จะให้ลูกค้าได้รับสินค้าและ บริการที่มีคุณภาพ และราคาที่เป็นธรรม ตลอดจนมุ่งพัฒนาและรักษาสัมพันธภาพที่ยั่งยืน เพื่อสร้างความ ผูกพันแก่ลูกค้า

    คู่ค้า บริษัทฯ ปฏิบัติตามกรอบการแข่งขันทางการค้าโดยสุจริต และมุ่งมั่นในการปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างยุติธรรม และเสมอภาพ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือซึ่งกันและกัน

    คู่แข่ง บริษัทฯ ปฏิบัติตามกรอบการแข่งขันทางการค้าที่สุจริต ภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันที่ดี และไม่ กระทำใดๆที่เป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์ของผู้แข่งขัน จะไม่ใช้การกระทำใดๆที่ไม่ สุจริต เพื่อทำลายชื่อเสียงของผู้แข่งขัน หรือละเมิดความลับทางการค้าของคู่แข่งขัน

    เจ้าหนี้ บริษัทฯ ยึดมั่นในการปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาที่ได้ตกลงไว้อย่างสุจริตและเคร่งครัด และให้ ความสำคัญกับเจ้าหนี้ต่างๆ เพื่อรักษาความสัมพันธ์กับเจ้าหนี้ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ

    ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมของชุมชน สังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมุ่งสนับสนุนกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และเสริมสร้างประโยชน์สุขของชุมชน สังคม และ สิ่งแวดล้อม

  • การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน

    บริษัทฯ มีนโยบายที่จะปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนได้ อย่างเป็นอิสระในการเลือกคณะกรรมการบริษัทฯ การลงมติ การแสดงความคิดเห็น และการตั้งคำถามใดๆ ต่อที่ประชุม ตามระเบียบวาระการประชุม และเรื่องที่เสนอ ผู้ถือหุ้นทุกรายมีสิทธิ และความเท่าเทียมกันในการรับทราบสารสนเทศที่ ถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์ เปิดเผยครบถ้วน และสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆได้ รวมทั้ง บริษัทฯมีนโยบายที่จะเพิ่ม ทางเลือกให้กับผู้ถือหุ้นโดยให้กรรมการอิสระเป็นผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้น ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ ซึ่งผู้ถือหุ้นทุกรายมีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันดังนี้

    1. ผู้ถือหุ้นทุกรายมีสิทธิและความเท่าเทียมกันในการรับทราบสารสนเทศ การแสดงความเห็นและการตั้งคำถามใดๆ ต่อที่ประชุมตามระเบียบวาระการประชุมและเรื่องที่เสนอ
    2. ผู้ถือหุ้นจะได้รับวาระการประชุมและข้อมูลประกอบล่วงหน้าผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ และเพื่อเป็นการ ส่งเสริมสิทธิของผู้ถือหุ้น บริษัทฯได้จัดทำประกาศผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ เชิญให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยให้เสนอ ชื่อบุคคลที่เห็นว่าสมควรได้รับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการของบริษัทฯ และเสนอระเบียบวาระการ ประชุมล่วงหน้าที่สมควรได้รับการพิจารณาเพิ่มเติมให้ที่ประชุมสามัญประจ าปีรวมถึงการกำหนดแนวปฏิบัติ ที่ชัดเจน
    3. บริษัทฯมีนโยบายและแนวปฏิบัติในการใช้ข้อมูลภายใน เพื่อป้องกันมิให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ของบริษัทฯ นำข้อมูลภายในที่ตนรู้จากต าแหน่งหน้าที่ไปใช้ข้อมูลในทางมิชอบ (Inside Trading) อาทิ เข้าทำการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยอาศัยข้อเท็จจริงดังกล่าว รวมทั้งการงดซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วง 1 เดือน ก่อนที่งบการเงินหรือข้อมูลภายในจะเปิดเผยต่อสาธารณชน
    4. คณะกรรมการ และผู้บริหาร จะต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนได้เสียและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คณะกรรมการได้ พิจารณาธุรกรรมของบริษัทฯ ที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ โดยรวม ซึ่งกรรมการและผู้บริหารที่มีส่วนได้เสียกับธุรกรรมที่ท ากับบริษัทฯ จะต้องไม่มีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจท าธุรกรรมดังกล่าว
    5. คณะกรรมการ และผู้บริหาร จะต้องจัดทำและนำส่งรายงานการถือครองหลักทรัพย์และการซื้อขายหลักทรัพย์ ต่อสำนักงานเลขานุการบริษัทฯ เพื่อนำส่งต่อไปยังสำนักงาน ก.ล.ต. แล้วแต่กรณี ภายในระยะเวลาที่กฎหมาย และระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ทุกครั้ง
  • การป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน

    นโยบายการกำกับดูแลกิจการ กำหนดห้ามมิให้ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของกลุ่มบริษัท ตลอดจนผู้ที่ เกี่ยวข้อง ใช้หรือเผยแพร่ข้อมูลภายในของบริษัทฯ ซึ่งยังมิได้เปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อใช้แสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ เพื่อประโยชน์ต่อการซื้อขายหลักทรัพย์ และห้ามมิให้เปิดเผยข้อมูลภายในต่อบุคคลภายนอกหรือผู้ที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ก่อนมีการเปิดเผยให้ประชาชนรับทราบโดยทั่วถึงผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเพื่อให้มั่นใจว่าเรื่องดังกล่าวได้ ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด บริษัทฯ ได้กำหนดบทลงโทษทางวินัยสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนนโยบายการป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน

  • การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์

    ตลอดการดำเนินงานที่ผ่านมา คณะกรรมการบริษัทฯ และฝ่ายบริหาร ได้พิจารณาขจัดปัญหาความขัดแย้งทาง ผลประโยชน์อย่างรอบคอบด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีเหตุผล และเป็นอิสระภายใต้กรอบจริยธรรมที่ดี เพื่อผลประโยชน์ของ บริษัทฯ โดยรวมเป็นสำคัญ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน โดยกำหนดให้ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานระดับปฏิบัติงาน ห้ามประกอบธุรกิจที่เป็นการแข่งขันกับบริษัทฯ หลีกเลี่ยงการท ารายการ ที่เกี่ยวโยงกับตนเอง หรือบุคคล/นิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทฯ และไม่ แสวงหาประโยชน์ให้กับตนเอง และผู้เกี่ยวข้องโดยใช้ข้อมูลภายในที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ กรณีเข้าข่ายเป็น รายการเกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อก าหนดของตลาด หลักทรัพย์ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ

  • การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน

    บริษัทฯตระหนักถึงความสำคัญในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน และมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจอย่างมีจรรยาบรรณ โปร่งใส เป็นธรรม และสามารถตรวจสอบได้ โดยเฉพาะกระบวนการที่เกี่ยวข้องหรือสุ่มเสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชั่นทุก รูปแบบ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเพิ่มความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้ เสียทุกฝ่าย ตลอดจนการปลูกจิตสำนึก สร้างค่านิยมที่ถูกต้องให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับของบริษัทฯ เพื่อ ยึดถือเป็นแนวทางที่สำคัญในการปฏิบัติ

    นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน

    บริษัทฯให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวังในเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยยึดถือปฏิบัติ ตามหลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อประโยชน์สูงสุดของถือหุ้น ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้เกี่ยวข้อง จึงกำหนดนโยบาย ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น รวมถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณของธุรกิจเพื่อใช้ถือเป็นแนวปฏิบัติ ดังนี้

    • กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ต้องไม่กระท าการทุจริตคอร์รัปชั่น ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เช่น การ นำเสนอ การให้คำมั่นสัญญา การขอ การเรียกร้อง การเรียกหรือรับผลประโยชน์ การให้ผลประโยชน์ การชักจูงสู่การ กระทำที่ผิดต่อกฎหมาย หรือการทำลายความไว้ใจ หรือการกระทำอื่นใดที่เป็นการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นต้น เพื่อประโยชน์ ต่อตนเองหรือบุคคลอื่น
    • กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ต้องปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามนโยบายนี้ จะต้องถูกพิจารณาโทษทางวินัย และดำเนินคดีตามกฎหมายตามแต่กรณี
    • หากพบเห็นการกระทำทุจริตคอร์รัปชั่น หรือการกระทำที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น ต้องแจ้งเหตุหรือรายงานต่อผู้บังคับบัญชาทันที หรืออาจแจ้งผ่านช่องทางการแจ้งเบาะแสที่บริษัทฯกำหนด
    • จัดให้มีนโยบายและแนวปฏิบัติ เพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นในรูปแบบต่างๆ เช่น การช่วยเหลือทางการเมือง การบริจาคเพื่อการกุศล การให้เงินสนับสนุน การจ่ายเงินค่าของขวัญ ค่าบริการต้อนรับเป็นต้น และจัดให้มีการกำกับดูแล ติดตามในเรื่องดังกล่าว ให้มีความโปร่งใส ไม่ขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือเอื้อประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม
    • จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอ และเหมาะสม เพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น และการดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามหลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดี
    • การจัดซื้อจัดจ้าง ต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส ไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบงาน และขั้นตอนปฏิบัติที่บริษัทฯกำหนดไว้ รวมทั้งจัดให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานจัดซื้อจัดจ้างอย่างสม่ำเสมอ
    • การให้เงินบริจาคหรือสนับสนุนแก่หน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนต้องดeเนินการด้วยความโปร่งใส ไม่ขัด ต่อศีลธรรม จรรยาบรรณ ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นไปตามนโยบายและระเบียบปฏิบัติของบริษัทฯเรื่องดังกล่าวอย่าง เคร่งครัด ทั้งนี้ ต้องได้รับการอนุมัติเห็นชอบจากหน่วยงานต้นสังกัดก่อนดำเนินการทั้งนี้ การให้เงินบริจาคหรือสนับสนุนแก่ หน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน ดังกล่าว ต้องไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ทั้งส่วนบุคคลและประโยชน์ของ บริษัทฯ ไม่ใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการทุจริตคอร์รัปชันการอนุมัติเงินบริจาคหรือสนับสนุนแก่หน่วยงานภาครัฐหรือ ภาคเอกชนต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติอย่างเคร่งครัด มีการจัดทำรายงานพร้อมเอกสารประกอบการพิจารณาอนุมัติ เงินบริจาคหรือสนับสนุนแก่หน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน และเสนออนุมัติต่อผู้บริหารเพื่อพิจารณาต่อไป
    • บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจอย่างเป็นกลางทางการเมือง ไม่มีการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนทางการเมืองแก่ พรรคการเมืองหรือนักการเมืองในทุกรูปแบบ รวมถึงการไม่ส่งเสริมให้กรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร หรือพนักงานเข้าร่วม กิจกรรมทางการเมืองใดๆในนามของบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม แต่ละบุคคลมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายในการเข้าร่วม กิจกรรมทางการเมือง ทั้งนี้ ต้องไม่แอบอ้างความเป็นพนักงาน หรือนำทรัพย์สินใดๆของบริษัทฯ ไปใช้ในการสนับสนุนทาง การเมือง หรือกระทำการใดๆอันก่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่าบริษัทฯมีส่วนร่วมหรือให้การสนับสนุนทางการเมืองใดๆ ทั้งนี้ การแสดงออกและ/หรือ แสดงความคิดเห็นทางการเมือง ในสำนักงานหรือบริเวณหน่วยงานของบริษัทฯ ถือว่าผิด ระเบียบบริษัทฯ
    • หากพบการกระทำที่เข้าข่ายการทุจริตคอร์รัปชั่น ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือช่องทางที่บริษัทฯได้กำหนด ไว้สำหรับการร้องเรียนการพบเบาะแสการทุจริตคอร์รัปชัน หรือการละเมิดสิทธิต่างๆ โดยบริษัทฯ มีมา ตรการในการ คุ้มครองผู้ร้องเรียน ผู้แจ้งเบาะแส และผู้ให้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ รายละเอียดปรากฏตามนโยบายเรื่องการแจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส ทั้งนี้ บริษัทฯ จัดให้มีช่องทางในแจ้งเบาะแสและร้องเรียนมายัง เลขานุการบริษัทฯ

      ที่อยู : บริษัท อาร์พีซีจี จำกัด (มหาชน) 86/2 อาคารสัมมากรเพลส ถนนรามคำแหง แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ 10240

    • กำหนดให้ บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไทย จำกัด ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ในการประเมินความเสี่ยงจากการทุจริตคอร์รัปชัน โดยดำเนินการประเมิน วิเคราะห์ ติดตาม และควบคุมความเสี่ยงจากการทุจริตให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ พร้อมรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ทั้งการติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น
    • การลงโทษการกระทำผิดให้เป็นไปตามระเบียบของบริษัทฯและ/หรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

จรรยาบรรณธุรกิจ

คณะกรรมการบริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการการกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) จึง กำหนดกรอบของจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ (Code of Conduct) เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของกรรมการผู้บริหารและ พนักงานทุกระดับของบริษัทฯ อย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใสอันเป็นการสร้างความเชื่อมั่น และเป็นที่ยอมรับของผู้มีส่วน ได้เสียทุกฝ่ายเพื่อประโยชน์ในการสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน

โดยแนวปฏิบัติในจรรยาบรรณธุรกิจครอบคลุมในเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมาย การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น การ ดูแลเรื่องการมีส่วนได้เสียและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การดูแลการใช้ข้อมูลภายใน และการซื้อขายหลักทรัพย์ของ บริษัทฯ การเปิดเผยและการรักษาความลับของข้อมูล การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิมนุษยชน การคุ้มครองและการไม่ ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา การรับเรื่องร้องเรียน ช่องทางการแจ้งเบาะแส และการคุ้มครองสิทธิผู้แจ้งเบาะแส ความ รับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้ บริษัทฯกำหนดให้มีการติดตามการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการและ จรรยาบรรณธุรกิจผ่านกระบวนการตรวจสอบภายใน ทั้งนี้การละเลยหรือฝ่าฝืนใดๆ จะได้รับการลงโทษทางวินัยและ/หรือ กฎหมายแล้วแต่กรณี และในกรณีพบเห็นการปฏิบัติที่อาจขัดต่อจรรยาบรรณธุรกิจ ให้พนักงานรายงานต่อผู้บังคับบัญชา หรือฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติงานหรือฝ่ายตรวจสอบภายใน หรือกรรมการผู้จัดการ แล้วแต่กรณี ผ่านช่องทางการร้องเรียน หรือแจ้งเบาะแสที่บริษัทฯ จัดให้มีขึ้น


การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทีสำคัญของนโยบาย แนวปฏิบัติ และระบบการกำกับดูแลกิจการ

การเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการที่สำคัญเกี่ยวกับการทบทวนนโยบาย แนวปฏิบัติ และระบบการกำกับดูแลกิจการหรือกฎบัตรคณะกรรมการในรอบปี ที่ผ่านมา

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายการกากับดูแลกิจการที่ดีและคู่มือจริยธรรมและจรรยาบรรณของธุรกิจให้ กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานถือปฏิบัติ พร้อมกำหนดให้บริษัทในกลุ่มนำแนวทางดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมและ เพียงพอกับแต่ละกิจการของบริษัทฯ โดยยึดมั่นความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส เป็นธรรมและปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีการทบทวนนโยบาย จรรยาบรรณ และกฎบัตรคณะกรรมการต่างๆเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ทันเหตุการณ์สอดคล้องกับ สภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ในปี 2566 ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณาทบทวนนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการกำกับดูแล กิจการที่ดี นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสังคมสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของบริษัท กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึง สถานการณ์ปัจจุบันเพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานสำหรับผู้บริหารและพนักงานของกลุ่มบริษัท โดยจัดให้มีระเบียบหรือ แนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ยึดมั่นในหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณในการทำธุรกิจ โดยครอบคลุมในเรื่องต่างๆ เช่น ความ ซื่อสัตย์ต่อลูกค้า การแนะนำและการเผยแพร่ข้อมูล การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับ ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การรักษาความลับของลูกค้า เป็นต้น โดยบริษัทฯได้เผยแพร่ให้กับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน รับทราบและถือปฏิบัติ อีกทั้งยังจัดอบรมให้กับพนักงานที่เข้าใหม่ทุกคนให้รับทราบด้วยเช่นกัน

ในส่วนของคณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีการทบทวนกฎบัตรของคณะกรรมการทุกปี เพื่อให้เป็นปัจจุบัน และ สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับทิศทางขององค์กร นอกจากคณะกรรมการบริษัทฯแล้ว คณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ ก็ได้มี การทบทวนกฎบัตรของแต่ละคณะด้วยเช่นกัน

การปฏิบัติในเรื่องอื่นๆตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

  • ผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยประจำปี 2565 ผลการสำรวจการกำกับดูแลกิจการของบริษัท ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ตามโครงการ สำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนประจำปี 2565 ในภาพรวม บริษัทฯอยู่ในเกณฑ์ “ดีมาก (Very Good)” และ ได้รับคะแนนเฉลี่ยภาพรวมและรายหมวด 80% จากบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับการสำรวจทั้งหมดในปี 2565 จำนวน 750 บริษัท
  • ผลการประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนประจำปี 2566 บริษัทฯได้รับผลการประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนประจำปี 2566 (Annual General Meeting Checklist) บริษัทฯผ่านการประเมินคุณภาพการจัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ด้วยคะแนน 96 คะแนน จัดอยู่ในระดับ “ดีเยี่ยม (Excellent)” จากสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย (Thai Investors Association)